PE คืออะไร

Post Images

"PE คืออะไร"

หลายๆคนที่อยากเป็นนักลงทุนหน้าใหม่ที่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มดูหุ้นยังไง ต้องบอกเลยว่าวิธีนี้เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ใช้ประกอบกับการช่วยตัดสินใจว่าหุ้นที่เรากำลังสนใจนั้นมีสถาณะเป็นอย่างไรบ้าง โดยเจ้าตัวที่จะเข้ามาช่วยเหล่านักลงทุนให้รับรู้ถึงข้อมูลได้ดียิ่งขึ้นนี้มีชื่อเรียกว่า P/E Ratio หรือ เรียกติดปากกับว่า P/E นี่แหละ ซึ่งเจ้า P/E Ratio นั้นก็คืออัตราส่วนทางการเงินที่เทียบกันระหว่าง Price/Earning Per Share หรือ ราคา หารด้วย กำไรสุทธิต่อหุ้น นั่นเอง โดยเจ้า P/E Ratio นั้นจะเป็นตัวบอกว่า ถ้าผู้ลงทุนเลือกจะซื้อหุ้นที่ราคาเท่าตอนนี้ จะได้ทุนคืนในอีกกี่ปี โดยที่บริษัทนั้นยังทำกำไรได้เท่าในช่วงเวลานั้นต่อเนื่องไปในทุกๆ ปี หรือที่หลายๆท่านที่ลงทุนมาบ้างจะใช้เป็นการวัดว่าหุ้นตัวนี้ราคาถูกหรือแพงนั่นเอง อย่างเช่น หุ้น ABC มี P/E ที่ 10 หมายความว่าหากบริษัท ABC ประกอบธุรกิจได้กำไรแบบนี้ต่อเนื่องไปอีก 10 ผู้ที่ถือครองก็จะได้ผลตอบแทนเท่ากับต้นทุนที่ลงเงินไปนั่นเอง ต่อไปนี้มายกตัวอย่างให้ชัดขึ้นไปอีกกันดีกว่า

ถ้าหากเราซื้อหุ้น ABC ที่ราคา 100 บาท ต่อหุ้น และบริษัทกระกอบกิจการในรอบหนึ่งปีได้กำไรสุทธิ ที่ 10 บาทต่อหุ้น สรุปได้ว่าถ้ากำไรเท่าเดิมแบบนี้ต่อไปจนครบ 10 ปี เราก็จะได้เท่ากับที่ลงทุนไป แต่เนื่องด้วยการประกอบกิจการคงไม่ได้มีความั่นคงขนาด 10 จะได้กำไรเท่าเดิมตลอดอย่างแน่นอน ซึ่งหากในปีถัดมาทางบริษัทมีการเติบโตของกำไรที่เพิ่มขึ้น จาก 10 ต่อหุ้น เป็น 12 บาท ต่อหุ้น ก็จะทำให้ P/E จาก 10 ปี กลายเป็น 8.3 ปีนั่นเอง และก็เช่นกัน ถ้าผลของกำไรลดลง P/E ก็จะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดิมขี้นไปอีก

แต่ก็ยังไม่ใช่แค่นั้นยังมีอีกปัจจัยที่เป็นตัวกำหนด เนื่องด้วย ไม่ได้มีเพียงแค่กำไรของหุ้นเท่านั้นที่เป็นตัวกำหนด เพราะว่าอย่าลืมว่า สูตรหา P/E นั้นคือ ราคาต่อหุ้น(Price) หารด้วย กำไรต่อหุ้น(Earnings Per Share) ถึงแม้ต่อให้กำไรต่อหุ้นยังคงเดิมแต่ราคาต่อหุ้นมีการปรับเพิ่มหรือลดก็มีผลกับ P/E เช่นกัน โดยหากในปีนั้นกำไรต่อหุ้นเท่าเดิมที่ 10 บาท ต่อหุ้น แต่ราคาหุ้นกลับเพิ่มขึ้นไปเป็น 150 บาทต่อหุ้น ก็จะทำให้ P/E ในช่วงเวลานั้นเป็นที่ 15 ปี นั่นเอง และโดยส่วนใหญ่ก็คือถ้าผลกำไรยิ่งเติบโตราคาต่อหุ้นก็จะเติบโตตามไปด้วยเนื่องด้วยใครๆก็อยากได้หุ้นที่มีราคาถูกกันทั้งนั้นจน เรียกกันได้ง่ายๆว่า P/E เปรียบเสมือนความคาดหวังของนักลงทุนนั่นเอง

บางครั้งเราจะเจอหุ้นที่มี P/E สูงลิ่วระดับ 50 ปีเลยก็มีซึ่งอาจจะทำให้นักลงทุนอาจจะตกใจกันได้ว่า 50 ปี คืนทุน ทำไมราคาถึงได้แพงขนาดนั้นแต่ในความเป็นจริงแล้วตัว P/E นั้นจะหารตามปีต่อปีดังนั้นอาจจะมีบางช่วงที่บริษัทที่ประกอบกิจการอาจจะเจอผลกระทบทางการดำเนินการก็ได้ ดังนั้นผู้ที่ลงทุนควรใช้ข้อมูลในช่วงเวลานั้นๆเข้ามาประกอบด้วยว่าทำไม P/E ถึงได้เป็นเช่นนั้น ดังนั้นอย่าลืมว่า P/E เป็นเพียงแค่ตัวบอกให้ผู้ลงทุนทราบว่าในช่วงเวลานั้นการประกอบกิจการของบริษัทนั้นมีผลตอบแทนอยู่ในระดับไหนแล้ว อย่าลืมว่าราคาของหุ้นและผลของกำไรนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาดังนั้นจึงต้องหมั่นที่จะหาข้อมูลต่อทรัพย์สินที่เราลงทุนอยู่เสมอ

"ความคาดหวังกับค่า P/E"

เมื่อเรามีความเข้าใจกับค่า P/E แล้วหลายๆ คนมักจะใช้การตัดสินใจส่วนใหญ่ไปกับตรงนี้เลยอย่างเดียว เพียงเพราะว่าด้วยค่าของ P/E มักจะเป็นตัวบอกว่าผลของการลงทุนนั้นจะเป็นรูปแบบประมานไหน ซึ้งจริงๆแล้วค่า P/E นั้นไม่สามารถที่จะบอกอะไรได้ชัดเจนขนาดนั้นเพราะว่า หากเราตัดสินใจที่ค่า P/E ต่ำๆเพียงอย่างเดียวเนื่องด้วยผลตอบแทนที่จะได้รับนั้นสวยงามใช้ระยะเวลาคืนทุนเงินต้นได้ไว จนลืมไปว่าค่าของ P/E นั้นค่อนข้างผันผวนอยู่พอตัว ดังนั้นวันนี้เราจะมะเจาะลึกถึงเรื่องนี้ลงไปอีกขั้น โดยกอ่นอื่นเราจะแยก P และ E ออกจากกันก่อน คือ

  • ความคาดหวังของราคา เมื่อเกิดความคาดหวังของราคาเกิดขึ้นก็จะส่งผลให้มีการเข้าซื้อมากขึ้น โดยที่งบของผลกำไรยังไม่ได้มีการเปิดเผย สงผลให้ ราคาต่อหุ้น(Price) นั้นปรับตัวสูงขึ้นไป จนไปกระทบต่อค่าของ P/E ทำให้ ค่าของ P/E นั้นมีค่าสูงขึ้นตามไปด้วย สาเหตุเหล่านี้จะเกิดบ่อยๆเมื่อมีข่าวที่ดีๆเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของทรัพย์สินนั้นๆ จึงสงผลให้ผู้ลงทุนมักเกิดความคาดหวังว่าผลของกำไรนั้นก็จะดีตามไปด้วย จึงมีการเข้าซื้อหุ้นก่อนที่ผลของกำไร(Earnings Per Share) จะออก
  • กำไรมีการเติบโตแต่นักลงทุนไม่รู้ เรียกได้ว่าอาจจะไม่ได้มีข่าวของการประกอบธุรกิจของทรัพย์สินนั้นๆออกมาเลยทำให้ผู้ลงทุนทั่วๆไปไม่ได้สังเกตุถึงผลของ กำไรต่อหุ้น(Earnings Per Share) ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเลยทำให้ ตัวหารของราคาต่อหุ้น(Price) นั้นสูงขึ้นเลยทำให้ค่า P/E นั้นปรับตัวลดลงไปโดยไม่มีใครรู้ เรียกได้ว่าช่วงเวลาทองของถูกของจริงกันเลยทีเดียว

แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะเกิดในรูปแบบของความคาดหวังของราคาก่อนเสมอ ก่อนที่จะปรับตัวตามปกติหลังจากที่ผลของ กำไรต่อหุ้น(Earnings Per Share) ออกมา หรือในบางครั้งผลของ กำไรต่อหุ้นที่ออกมานั้นตามราคาความคาดหวังไม่ทันจึงทำให้เกิดการเทขายทรัพย์สินนั้นๆ ออกมา ส่งผลให้ ราคาต่อหุ้น(Price) ก็ปรับตัวลดลงมาสอดคล้องกับผลกำไรทรัพย์สินนั้นๆ เรียกว่า วัฏจักรหุ้นนั่นเอง

​​​​​​

"กับดักของค่า PE"

เชื่อว่าหลายคนคงจะเจอกับปัญหาเรื่องของราคาหุ้นที่ไม่ปรับตัวขึ้นหลังจากได้ซื้อมา นั่นอาจจะเป็นเพราะว่าความคาดหวังของหุ้นตัวนั้นได้ถึงจุดอิ่มตัวแล้ว ตีความได้ว่าผู้ลงทุนเหล่านี้ได้ตกขบวนไปเรียบร้อยแล้วเนื่องด้วยก่อนที่ราคาหุ้นจะปรับตัวขึ้นนั้นมักจะเกิดจากความคาดหวังของคนบางกลุ่มที่เกิดจากข่าวสารที่ได้รับรู้มาแล้วเข้าซื้อ หรืออาจจะมีคนที่อยู่ในวงในอาจจะรู้ทิศทางของผลกำไรของธุรกิจนั้นๆ ได้มีการเข้าซื้อไปก่อนหน้าแล้ว แล้วหากมีการเข้าซื้อแบบจำนวนมากๆด้วยแล้วละก็ยิ่งทำให้เป็นข่าวสารได้ง่ายๆ โดยทั้งๆที่ผลของกำไรยังไม่ได้ออกด้วยซ้ำ เรียกภาษาชาวเล่นหุ้นเรียกกันว่าเจ้ามือนั่นเอง ซึ่งกลไกเหล่านี้มักจะทำให้ผู้ลงทุนที่มีความรู้ในการลงทุนน้อยและมีประสบการณ์ไม่มากหรือผู้ที่มันไม่ได้ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจเข้าซื้อ ที่ซื้อเพราะว่าเชื่อข่าวๆต่างๆโดยที่มูลเหตุยังไม่มี เพียงแค่กลัวตกขบวนรถไฟจึงรีบเข้าไปรุมซื้อกัน จึงยิ่งทำให้ราคาหุ้นนั้นสูงต่อเนื่องขึ้นไปอีก และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้นักลงทุนทั้งหลายมาถึงจุดปลายทางของขบวนรถไฟนั่นเอง

จากความคาดหวังของผลกำไรต่อหุ้น(Earnings Per Share) ที่มีนั้นส่งผลให้ราคาหุ้น(Price) ได้ปรับสูงขึ้นไปแล้ว ต่อมาผลของความคาดหวังไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ทำให้นักลงทุนบางกลุ่มที่ซื้อไว้ก่อนหน้าได้เทขายหุ้นออกมาก็จะส่งผลให้ราคาของหุ้นนั้นไม่ได้ปรับตัวขึ้นไปอีกหรือในบางครั้งอาจเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ในการเทขายด้วยก็มี เช่น นักลงทุนที่เรียกว่าเจ้ามือนั้นเข้าซื้อไปจำนวนมากก่อนหน้าที่ราคาจะปรับตัวขึ้นก่อนหน้านี้เพราะคาดหวังว่าผลของกำไรจะดี ต่อมาผลออกมาไม่ดีก็เลยขายออกเพราะเนื่องจากราคาที่ปรับตัวก็อยู่ในช่วงที่ไม่ขาดทุนหรืออาจจะมีกำไรอยู่ในช่วงที่พอใจ ก็ส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ต่อกลุ่มนักลงทุนรายย่อยที่ไม่มีประสบการณ์เหล่านั้นแย่งกันเทขายตามๆกันออกมา ยิ่งส่งผลให้ราคาหุ้นปรับตัวลงอย่างรวดเร็ว เรียกได้ว่า ตกใจไปตามๆ กันโดยที่ลืมไปว่าหุ้นหรือทรัพย์สินนั้นๆก็ยังคงอยู่ในช่วงของกำไรเท่าเดิมหรือมีการหดตัวเล็กน้อยก็ตาม นั่นก็เพราะจริงๆแล้วนักลงทุนส่วนใหญ่มักจะมองกันที่ราคาต่อหุ้น(Price) มากกว่า กำไรต่อหุ้น(Earnings Per Share) นั่นเอง เมื่อเห็นราคาต่อหุ้นปรับตัวลงเร็วเกินไปจึงรีบเทขายกันไปเฉยๆ จนมองข้ามผลของกำไรต่อหุ้น(Earnings Per Share) ไปเลย มั่วไปตกใจกับค่า P/E ที่เกิดขึ้นตอนนั้นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากราคาต่อหุ้น(Price) ที่เพิ่มขึ้นและ ค่าของกำไรต่อหุ้น(Earnings Per Share)  ลดลง ส่งผลให้ค่า P/E พุ่งขึ้นเยอะมากเลยทีเดียว

ดังนั้นเหล่านักลงทุนมือใหม่ต้องหมั่นหาข้อมูลถึงสาเหตุต่างๆ ที่มีปัจจัยส่งผลให้ราคาของหุ้นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลง รวมทั้งผลที่ทำให้กำไรต่อหุ้นนั้นๆ ปรับตัวเพิ่มหรือลดลงด้วย อย่างสม่ำเสมอเพื่อใช้ประกอบกับการตัดสินใจก่อนที่จะซื้อและขายหุ้นทุกครั้ง

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความและ like กด share ให้เราด้วยน๊าาา ขอบคุณสำหรับความสนใจในบทความนี้ :)